1.2 สาเหตุเกิดพิธีลอยกระทง
พิธีตามประทีปลอยกระทง เป็นประเพณีของศาสนิกชนที่นับถือศาสนาฮินดูและพุทธ มีปรากฏอยู่ในหลายประเทศที่สืบสายวัฒนธรรมแบบอินเดีย ได้แก่ อินเดีย เนปาล พม่า ลังกา ไทย เขมร ลาว จีน เป็นต้น ซึ่งปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีแล้ว สาเหตุที่มาของการปฏิบัติพิธีนี้จึงสันนิษฐาน นานา ต่างก็มีเหตุผลที่น่ารับฟังดังจะได้ยกมากล่าวต่อไป
(สุเมธ เมธาวิทยากูล, 2547 , หน้า 119-120)
1.2.1พิธีปวาทีปของชาวฮินดูในอินเดียนั้นคงมีมาก่อนสมัยพระพุทธเข้าอุบัติ พอพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาพุทธขึ้นมา ก็มีชาวฮินดูเป็นจำ นวนมากหันมานับถือกลายเป็นชาวพุทธ พอถึงวันเทศกาลทีปปวาลีนี้ ชาวพุทธใหม่เหล่านั้นก็คงจะอดไม่ได้ที่จะมีพิธีบูชาของตนเองบ้าง เพราะเคยชินกับการเฉลิมฉลองในเทศกาลทีปวาลีมาช้านาน อีกทั้งได้เห็นชาวฮินดูเฉลิมฉลองเทศกาลทีปวาลีของเขาอย่างสนุกสนาน จึงได้คิดพิธีกรรมของตนเองขึ้นมา โดยการจุดพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหตุที่ชาวพุทธถือเอาวันเพ็ญ เดือน 11 หรือ 12 เป็นวันบูชาพระพุทธเจ้านั้น ก็คงจะเห็นว่าตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำ อโนมาทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาดลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐานพระอมรินทราธิราช ก็นำ ผอบแก้วมาบรรจุไว้แล้วนำ ไปประดิษฐานไว้ในพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ ดาวดึงส์เทวโลก
1.2.2 ตามที่ปรากฏในอรรถกถาปุณโณวาทสูตรว่า ครั้งหนึ่ง พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในนาคภิภพ ตอนเสด็จกลับพญานาคขออนุสาวรีย์จากพระองค์เพื่อเอาไว้บูชา พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานประกับรอยพระบาทของพระองค์ ไว้ที่หายทรายแม่น้ำ นัมมทา (Narmada) ซึ่งเป็นแม่น้ำ ที่เกิดในรัฐมัธยมประเทศไหลไปทางตะวันตก ลงทะเลอาระเบียนที่รัฐกุจราต
1.2.3 อีกทัศนะหนึ่ง ถือว่า พิธีกระทำ เพื่อเฉลิมเฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการไปจำ พรรษาที่ดาวดึงส์เทวโลก พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ พระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระมหามายาเทวี พระพุทธมารดา ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ครั้งถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา คือวันเพ็ญเดือน 11 ก็เสด็จลงมาสู่มนุษยโลก (เทโวโหณะ) ณ ประตูเมืองสังกัสสนคร ฝูงทวยเทพตามมาส่งเสด็จมากมาย พุทธบริษัทก็พากันมารัวเสด็จนับจำนวนไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชาอันมโหฬาร พระพุทธองค์ทรงเปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น การลอยกระทงจึงเป็นการเฉลิมเฉลองพิธีรับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จกลับจากเทวโลก
พิธีตามประทีปลอยกระทง เป็นประเพณีของศาสนิกชนที่นับถือศาสนาฮินดูและพุทธ มีปรากฏอยู่ในหลายประเทศที่สืบสายวัฒนธรรมแบบอินเดีย ได้แก่ อินเดีย เนปาล พม่า ลังกา ไทย เขมร ลาว จีน เป็นต้น ซึ่งปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีแล้ว สาเหตุที่มาของการปฏิบัติพิธีนี้จึงสันนิษฐาน นานา ต่างก็มีเหตุผลที่น่ารับฟังดังจะได้ยกมากล่าวต่อไป
(สุเมธ เมธาวิทยากูล, 2547 , หน้า 119-120)
1.2.1พิธีปวาทีปของชาวฮินดูในอินเดียนั้นคงมีมาก่อนสมัยพระพุทธเข้าอุบัติ พอพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาพุทธขึ้นมา ก็มีชาวฮินดูเป็นจำ นวนมากหันมานับถือกลายเป็นชาวพุทธ พอถึงวันเทศกาลทีปปวาลีนี้ ชาวพุทธใหม่เหล่านั้นก็คงจะอดไม่ได้ที่จะมีพิธีบูชาของตนเองบ้าง เพราะเคยชินกับการเฉลิมฉลองในเทศกาลทีปวาลีมาช้านาน อีกทั้งได้เห็นชาวฮินดูเฉลิมฉลองเทศกาลทีปวาลีของเขาอย่างสนุกสนาน จึงได้คิดพิธีกรรมของตนเองขึ้นมา โดยการจุดพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหตุที่ชาวพุทธถือเอาวันเพ็ญ เดือน 11 หรือ 12 เป็นวันบูชาพระพุทธเจ้านั้น ก็คงจะเห็นว่าตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำ อโนมาทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาดลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐานพระอมรินทราธิราช ก็นำ ผอบแก้วมาบรรจุไว้แล้วนำ ไปประดิษฐานไว้ในพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ ดาวดึงส์เทวโลก
1.2.2 ตามที่ปรากฏในอรรถกถาปุณโณวาทสูตรว่า ครั้งหนึ่ง พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในนาคภิภพ ตอนเสด็จกลับพญานาคขออนุสาวรีย์จากพระองค์เพื่อเอาไว้บูชา พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานประกับรอยพระบาทของพระองค์ ไว้ที่หายทรายแม่น้ำ นัมมทา (Narmada) ซึ่งเป็นแม่น้ำ ที่เกิดในรัฐมัธยมประเทศไหลไปทางตะวันตก ลงทะเลอาระเบียนที่รัฐกุจราต
1.2.3 อีกทัศนะหนึ่ง ถือว่า พิธีกระทำ เพื่อเฉลิมเฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการไปจำ พรรษาที่ดาวดึงส์เทวโลก พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ พระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระมหามายาเทวี พระพุทธมารดา ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ครั้งถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา คือวันเพ็ญเดือน 11 ก็เสด็จลงมาสู่มนุษยโลก (เทโวโหณะ) ณ ประตูเมืองสังกัสสนคร ฝูงทวยเทพตามมาส่งเสด็จมากมาย พุทธบริษัทก็พากันมารัวเสด็จนับจำนวนไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชาอันมโหฬาร พระพุทธองค์ทรงเปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น การลอยกระทงจึงเป็นการเฉลิมเฉลองพิธีรับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จกลับจากเทวโลก